ที่มาและความสำคัญ
ไข่น้ำ คือ
พืชชนิดหนึ่งที่เล็กที่สุดในโลกและเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับจอกแหน พบมากในภาคเหนือและภาคอีสานของไทย และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด มีคุณค่าทางสารอาหารคือโปรตีนสูง แต่พบใต้ยากในภาคใต้ของประเทศไทย
ทางกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดที่จะนำมาทดลองเพาะเลี้ยงโดยใช้มูลวัวหมักและน้ำนมหมักในการทดลองไข่น้ำ
จึงเป็นที่มาของโครงงานเรื่อง “เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไข่น้ำโดยการเลี้ยงจากน้ำนมหมักและมูลวัวหมัก”
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงไข่น้ำภายในภาคใต้ได้
2. เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไข่น้ำโดยการเลี้ยงจากน้ำนมหมักและมูลวัวหมัก
สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
ไข่น้ำที่เลี้ยงกับน้ำนมหมักน่าจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าการเลี้ยงจากมูลวัวหมัก
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ตัวแปรต้น
: น้ำนมหมัก, มูลวัวหมัก
ตัวแปรตาม
: การเจริญเติบโตของไข่น้ำ
ตัวแปรควบคุม
: น้ำนมหมัก, มูลวัวหมัก
นิยามเชิงปฏิบัติการตัวแปรต้น
ไข่น้ำ
นิยามเชิงปฏิบัติการตัวแปรต้น
ไข้น้ำจะเจริญเติบโตในน้ำนมหมักหรือมูลวัวหมักได้ดีกว่ากัน
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พืชที่เล็กที่สุดในโลก
จากชื่อเรื่องหลายคนคงจะสังเกตเห็นได้ว่า คงจะต้องมีเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับพืชออกมาอีกอย่างแน่นอน ใช่เลยครับ แต่คงไม่ใช่เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับพืชอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในโลกของสิ่งมีชีวิต มีอะไรหลายๆ อย่างที่น่าสนใจและถูกบันทึกไว้มากมาย จนนำมาเขียน มาเล่าสู่กันฟังไม่รู้เบื่อทีเดียว พืช เป็นสิ่งมีชีวิตที่เราพบเห็นจนชินตา อยู่คู่กับโลกใบนี้มาช้านาน มีวิวัฒนาการมาอย่างน่าอัศจรรย์ และมีความหลากหลายทางด้านโครงสร้าง รูปร่าง เพื่อการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทำให้เรามีข้อมูลของพืชที่เป็นที่สุดในหลายๆ ด้าน เช่น พืชที่เล็กที่สุด พืชที่ใหญ่ที่สุด พืชที่อายุมากที่สุด ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุด พืชน้ำที่ใหญ่ที่สุด ใบไม้ที่ใหญ่ที่สุด พืชที่โตเร็วที่สุด และอื่นๆ ซึ่งเมื่ออ่านแล้วคงจะได้มุมมองอะไรเกี่ยวกับพืชเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน และสามารถนำข้อมูลต่อไปนี้มาช่วยในการสร้างความน่าสนใจให้กับบทเรียน และเชื่อมโยงเข้ากับชีวิตประจำวันได้ เรื่องแรกที่จะกล่าวถึงคือ พืชที่เล็กที่สุด ซึ่งพืชที่เล็กที่สุดจะไม่ใช่สาหร่ายเซลล์เดียวที่เรารู้จักกันเพราะว่าสาหร่ายถูกจัดอยู่ใน Kingdom Protista ดังนั้นตำแหน่งพืชที่เล็กที่สุดจึงตกเป็นของไข่น้ำ (Wolffia) ซึ่งเป็นพืชในวงศ์แหนเป็ด (Duckweed family) ไข่น้ำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าWolffia arrhiza * ชื่อพ้องคือ Wolffia globosa ** นอกจากจะได้ตำแหน่งพืชที่เล็กที่สุดแล้วยังได้ตำแหน่งพืชมีดอกที่เล็กที่สุดอีกด้วย แต่ในหนังสือ "Guinness Book of World Records" ระบุชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Wolffia angusta *** มีความยาว
1. genus Lemna
2. genus Spirodela
3. genus Wolffiella
2. genus Spirodela
3. genus Wolffiella
4. genus Wolffia
การจำแนกชนิดของพืชใน Family Lemnaceae (Duckweed
family) มีการจัดจำแนกโดยใช้ Dichotomous Key แบบง่ายๆ
คือ
1a. Plant body with 1-several roots. (มีราก 1 รากหรือมากกว่า)
2a. Root one: ----> genus Lemna ------- มีราก 1 ราก เช่น แหนเป็ดเล็ก
2b. Root 2-12: -----> genus Spirodela ------- มีราก 2-12 ราก เช่น แหนเป็ดใหญ่
1a. Plant body with 1-several roots. (มีราก 1 รากหรือมากกว่า)
2a. Root one: ----> genus Lemna ------- มีราก 1 ราก เช่น แหนเป็ดเล็ก
2b. Root 2-12: -----> genus Spirodela ------- มีราก 2-12 ราก เช่น แหนเป็ดใหญ่
1b. Plant body without
roots. (ไม่มีราก)
3a. Plant body flattened: -----> genus Wolffiella
3a. Plant body flattened: -----> genus Wolffiella
3b. Plant body ovoid (< 1 mm .): -----> genus
Wolffia
ไข่น้ำ (ผำ หรือไข่แหน หรือ water meal) ตามปกติจะพบลอยอยู่ตามผิวน้ำ มีลักษณะเป็นแผ่นเรียกว่าทัลลัส (thallus)
ทัลลัสมีรูปกลมหรือรูปไข่สีเขียว พองนูนทั้งด้านบนและด้านล่าง
ไม่มีราก (ดังรูป) ทัลลัสมีขนาดยาว ประมาณ 0.1 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า
ดอกออกเป็นช่อขนาดเล็กมากและจะเกิดอยู่ในถุงตรงขอบทัลลัส มีดอกเพศผู้และเพศเมียอย่างละ
1 ดอก เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในวงศ์นี้ที่นำมากินเป็นอาหารมนุษย์
รูป:ไข่น้ำ พืชที่เล็กที่สุดในโลก" |
|
ไม่ใช่มีประโยชน์แค่นำมาโฆษณาว่าเป็นพืชที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกเท่านั้น
ไข่น้ำยังเป็นพืชที่มีโปรตีนสูงอีกด้วย ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านมาช้านาน ตัวอย่าง
สูตรการทำอาหารจากผักพื้นบ้าน เช่น "คั่วผำกับหมู" เป็นต้น
ที่นี้เรามาดูว่าฝรั่งเขาวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของพืชใน
Family Lemnaceae แล้วพบว่ามันมีอะไรอยู่บ้าง
เขาพบว่าพืชในวงศ์ไข่น้ำมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากถึง 86-97% ทีเดียว
(ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ) จากรายงานการวิจัย **** พบว่าไข่น้ำเป็นพืชที่ให้โปรตีนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ
แต่ก็ต้องขึ้นกับสภาพของการเจริญเติบโตอีกด้วย จากการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำหนักแห้ง
พบว่ามีโปรตีน 6.8-45% ไขมัน 1.8-9.2% คาร์โบไฮเดรต
14.1-43.6% และปริมาณเส้นใยไฟเบอร์ 5.7-16.2% และจากการวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโนพบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของ leucine,
threonine, valine, isoleucine และ phenylalanine สูง แต่มี cysteine, methionine, และ
tyrosine อยู่ในระดับต่ำ
จากงานวิจัยยังพบอีกว่าพืชใน
genus Lemna (แหนเป็ดเล็ก) และ genus Spirodela (แหนเป็ดใหญ่) จะมีการสะสมแคลเซียมออกซาเลตสูง เหมือนกับที่เรารู้จักดีว่าในหน่อไม้ก็มีแคลเซียมออกซาเลตสูงเช่นกัน
แคลเซียมออกซาเลตในพืชจะอยู่ในรูป crystal ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้
เป็นสาเหตุทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แต่ในไข่น้ำไม่พบการสะสมของแคลเซียมออกซาเลต
ซึ่งน่าชื่นชมและน่าสงสัยว่าคนในอดีตรู้ได้อย่างไรว่าพืชชนิดใดกินแล้วปลอดภัย ชนิดใดกินแล้วไม่ปลอดภัย
ทำไมเลือกกินเฉพาะไข่น้ำ ทำไมไม่กินแหนเป็ดด้วย เป็นเรื่องชวนคิดทีเดียว
คุณค่าทางอาหารของไข่น้ำ
“ผำ” หรือเรียกว่า
ไข่แหน (Fresh water Alga, Swamp Algae) รู้กันกันในชื่อ ไข่น้ำ,
ไข่ขำ และ ผำ มีชื่อพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า ผำ
ทางภาคกลางเรียกว่า ไข่น้ำ ส่วนทางภาคอีสานเรียกว่า ไข่ผำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
วอลฟ์เฟีย กลอโบซ่า (Wolffia globosa Hartog & Plas.) จัดอยู่ในวงศ์
เล็มนาซีอี้ (LEMNACEAE)
ไข่น้ำ จัดเป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่งที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆหรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น แหน, แหนแดง ก็ได้ ไข่แหนเป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุดไข่แหนกระจายอยู่ในประเทศต่างๆในทวีปยุโรป ในทวีปแอฟริกากลางและใต้ ในเกาะมาดากัสการ์และในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะบริเวณเขตศูนย์สูตรใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในประเทศบราซิล ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศออสเตรเลีย ด้วย
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ผำเป็นพืชน้ำ คล้ายตะไคร่น้ำ รูปร่างเป็นเม็ดกลมเล็กๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1-0.2 มม. มีสีเขียวลอยอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นแพ
มักเกิดในธรรมชาติที่น้ำใส นิ่ง เช่น บึง หนองน้ำ เป็นต้น
ไข่น้ำ จัดเป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่งที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆหรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น แหน, แหนแดง ก็ได้ ไข่แหนเป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุดไข่แหนกระจายอยู่ในประเทศต่างๆในทวีปยุโรป ในทวีปแอฟริกากลางและใต้ ในเกาะมาดากัสการ์และในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะบริเวณเขตศูนย์สูตรใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในประเทศบราซิล ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศออสเตรเลีย ด้วย
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ผำเป็นพืชน้ำ คล้ายตะไคร่น้ำ รูปร่างเป็นเม็ดกลมเล็กๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1-
ไข่น้ำ เป็นพืชน้ำคล้ายแหนต้นเล็กๆบางครั้งเรียก
"ไข่แหน" เป็นเม็ดกลมสีเขียว ลอยเป็นแพอยู่ผิวน้ำ พบตามธรรมชาติที่น้ำใสนิ่ง
เช่น บึง หนองน้ำ ผำจะพบมากในฤดูฝน ทางภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลาง
จะพบวางขายกันมากมาย นำไปทำอาหารได้หลายอย่าง ผำ เป็นพืชดอกที่มีต้นเล็กที่สุด หรือเป็นผักที่ต้นเล็กที่สุด
|
รูปที่3 :สาหร่ายน้ำจืด
เทา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สไปโรจีร่า :
Spirogyra sp.Fresh water
algae
จัดอยู่ในวงศ์ไซนีมาทาซี
Zygnemataceae
|
เทา หรือ เตา เป็นสาหร่ายน้ำจืด
พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ในแหล่งน้ำนิ่ง สะอาด ใส
รูปร่างเป็นเส้นยาวคล้ายผม ไม่มีกิ่งก้าน จะพบมากในช่วงหน้าฝน
ชาวบ้านจะนำมาขายโดยม้วนเป็นก้อนกลมๆ เทา ส่วนมากนำมากินเป็นผักสด
ผักลวกกับน้ำพริก หรือเอามายำ แกงส้ม
การขยายพันธุ์ของผำ
มี 2 แบบ ได้แก่
1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เนื่องจากไข่แหนเป็นพืชมีดอกขนาดเล็กที่สุด ดอกของไข่แหนจะเจริญเติบโตออกทางช่องข้างบนของต้น ดอกไม่มีกลีบดอก และไม่มีกลีบเลี้ยง ดอกตัวผู้จะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ประกอบด้วยอับละอองเรณู 2 อับ ดอกตัวมีรังไข่ที่มี 1 ช่องและมีไข่อยู่ 1 ใบ ก้านเกสรตัวเมียสั้น ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะแบน เมล็ดมีขนาดเล็ก กลมเกลี้ยง ยังไม่ปรากฏว่ามีไข่แหนมีดอกในประเทศไทย มีแต่รายงานการพบเห็นในประเทศอื่น ไข่แหนจะมีดอกและเมล็ดในราวๆเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม
2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ ซึ่งมีผู้ทำการศึกษาการเจริญเติบโตแล้วพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ไข่แหนแต่ละต้นจะแตกหน่อให้ต้นใหม่ทุกๆ 5 วัน
ผำมีรสมัน ผำ100 กรัม
ให้พลังงาน ต่อร่างกาย 8 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 0.3 กรัม แคลาเซียม 59 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5346
IU วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 11 มิลลิกรัม
1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เนื่องจากไข่แหนเป็นพืชมีดอกขนาดเล็กที่สุด ดอกของไข่แหนจะเจริญเติบโตออกทางช่องข้างบนของต้น ดอกไม่มีกลีบดอก และไม่มีกลีบเลี้ยง ดอกตัวผู้จะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ประกอบด้วยอับละอองเรณู 2 อับ ดอกตัวมีรังไข่ที่มี 1 ช่องและมีไข่อยู่ 1 ใบ ก้านเกสรตัวเมียสั้น ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะแบน เมล็ดมีขนาดเล็ก กลมเกลี้ยง ยังไม่ปรากฏว่ามีไข่แหนมีดอกในประเทศไทย มีแต่รายงานการพบเห็นในประเทศอื่น ไข่แหนจะมีดอกและเมล็ดในราวๆเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม
2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ ซึ่งมีผู้ทำการศึกษาการเจริญเติบโตแล้วพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ไข่แหนแต่ละต้นจะแตกหน่อให้ต้นใหม่ทุกๆ 5 วัน
ผำมีรสมัน ผำ
ประโยชน์ของไข่น้ำ
ด้านการศึกษา เนื่องจากผำหรือไข่แหนเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก
มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว สามารถนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กได้ จึงเหมาะแก่การทำมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการศึกษา
เช่น การศึกษาอิทธิพลของสารที่ควบคุมการขยายพันธุ์ของพืช
ด้านโภชนาการ ผำหรือไข่แหน เป็นอาหารของสัตว์น้ำและสัตว์ปีกหลายชนิด
นอกจากนี้ ไข่แหนยังมีแคลเซียมและเบต้าแคโรทีนสูงมาก คนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ยังได้นำผำหรือไข่แหนมาประกอบเป็นอาหารอีกด้วย ผำหรือไข่แหนมีสารพิษต้านฤทธิ์สารอาหาร
จึงต้องนำผำหรือไข่แหนมาทำให้สุกก่อนรับประทาน
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. บ่อซีเมนต์
2. กระชอน
3. ที่ชั่งน้ำหนัก
4. มูลวัวแห้ง
5. น้ำนมหมัก
6. ช้อน
วิธีการทดลอง
1. นำไข่น้ำที่มีน้ำหนักเท่ากันใส่ลงไปในบ่อปูนซีเมนต์ทั้งสองบ่อ
2. นำน้ำนมหมักใส่ลงไปในบ่อปูนซีเมนต์บ่อที่1 และนำมูลวัวหมักใส่ลงไปในบ่อปูนซีเมนต์บ่อที่2
3. นำไข่น้ำทุกๆ 1 สัปดาห์ มาชั่งเพื่อตรวจค่าน้ำหนักของไข่น้ำในบ่อนั้นๆ
4. บันทึกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของไข่ทุกๆ1สัปดาห์
อภิปรายและสรุปผลการทดลอง
สถานที่ทำโครงงาน:โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
1) น.ส.ปิยธิดา สนิท ม.503 เลขที่ 7
2) น.ส.พิมพ์ผกา หมิดหวัง ม.503
ขอขอบคุณ
1) ผำ-วิกิพีเดีย
2)รูปภาพผำ
3)ไข่น้ำ หรือผำ
4) ขอขอบคุณ นางชฎารัตน์ สังวาระ และ นายจิรัฎฐ์ พงษ์ทองเมือง
ผลการทดลอง
ผลการทดลองเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไข่น้ำโดยการเลี้ยงจากน้ำนมหมักและมูลวัวหมักโดยที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำการทดลองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ได้ผลดังตาราง
ตารางที่1 แสดงการเจริญเติบโตของไข่น้ำโดยการเลี้ยงจากน้ำนมหมักและมูลวัวหมัก
ลักษณะการเลี้ยง
|
การเจริญเติบโตของไข่น้ำ
|
||
สัปดาห์ที่ 1
|
สัปดาห์ที่ 2
|
สัปดาห์ที่ 3
|
|
ไข่น้ำที่เลี้ยงกับน้ำนมหมัก
|
350 กรัม
|
600 กรัม
|
|
ไข่น้ำที่เลี้ยงกับมูลวัวหมัก
|
300 กรัม
|
อภิปรายและสรุปผลการทดลอง
อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าไข่น้ำที่เลี้ยงในน้ำนมหมักเจริญเติบโตได้ดีกว่าการเลี้ยงจากมูลวัวหมัก
คณะผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์จึงอยากแนะนำให้ผู้ที่ต้องการเลี้ยงขายหรือเพื่อเลี้ยงประกอบ
อาหาร
ควรเลี้ยงไข่น้ำจากน้ำนมหมักจะได้ผลผลิตที่มากกว่า
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตขอไข่น้ำโดยการเลี้ยงจากน้ำนมหมักและ
มูลวัวหมักสรุปผลได้ดังนี้ไข่น้ำที่เพาะเลี้ยงไว้ในน้ำนมหมักจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าที่เลี้ยง
จากมูลวัวหมัก
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทดลอง
1.ศึกษาการเจริญเติบโตของไข่น้ำโดยการเลี้ยงจากน้ำนมหมักและมูลวัวหมัก
2.ไข่น้ำมีคุณค่าทางอาหารสูง
คือ โปรตีน
3. เราสามารถนำไข่น้ำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
4. เราสามารถนำไข่น้ำไปตากแห้งและนำไปใส่แคปซูลเพื่อที่จะนำมารับประทานได้เพราะเป็น
การเสริมโปรตีนได้เช่นเดียวกัน
5. เราสามารถเพาะเลี้ยงไข่น้ำไว้เพื่อจำหน่ายได้
6. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
สถานที่ทำโครงงาน:โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
ผู้จัดทำโครงงาน
กลุ่ม Bath-tha
1) น.ส.ปิยธิดา สนิท ม.503 เลขที่ 7
3) น.ส.สุดารัตน์ หลังเถาะ ม.503 เลขที่่ 14
4) นายก้องภพ บุญสิน ม.503 เลขที่ 19
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ : 1.นางชฎารัตน์ สังวาระ
2. นายไพจิตร ไตรวงศ์ย้อย
2. นายไพจิตร ไตรวงศ์ย้อย
อาจารย์ที่ปรึกษาคอมพิวเตอร์ :นายจิรัฎฐ์ พงษ์ทองเมือง
1) ผำ-วิกิพีเดีย
2)รูปภาพผำ
3)ไข่น้ำ หรือผำ
4) ขอขอบคุณ นางชฎารัตน์ สังวาระ และ นายจิรัฎฐ์ พงษ์ทองเมือง
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
(โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ภูมิภาค)
Princess Chulabhorn's College,Nakhon Si Thammarat
( Chulabhorn Science High School )